วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

การประกันราคาขั้นสูงคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาหรือการประกันราคาขั้นสูง

            การกำหนดราคาหรือการประกันราคาขั้นสูง (Price ceiling)คือ การแทรกแซงราคาสินค้าโดยทั่วไปของรัฐบาล เพื่อไม่ให้สินค้ามีราคาสูงเกินไป ด้วยการกำหนดราคาขั้นสูง อันเป็นราคาที่ต่ำกว่าตลาดหรือดุลยภาพ


แผนภูมิแสดงการควบคุมราคา ถ้ารัฐบาลไม่มีการแทรกแซงตลาด ระดับราคา P0 คือราคาดุลยภาพ และปริมาณ Q0 คือปริมาณดุลยภาพ

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน มีประโยชน์อย่างไร

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand)

            ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand) หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสินค้าต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดอุปสงค์ เช่น ราคา รายได้ ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์มี ชนิด ดังนี้

1. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand)

 เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง โดยวัดออกมาในรูปของร้อยละ

        ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Ed)    =     การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อ
                                                                                              % การเปลี่ยนแปลงของราคา

            โดยสูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความหยือหยุ่นนั้นมี 2 ลักษณะ คือ

            ก. สูตรความยืดหยุ่นของอุปงค์แบบจุด (Point elasticity of Demand)


โดยที่ :  Ed        = ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
Q        = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับราคาเดิม
Q        = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับราคาใหม่
P        = ราคาสินค้าเดิมก่อนมีการเปลี่ยนแปลง
P        = ราคาสินค้าหลังการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง สินค้าราคา 20 บาท มีคนซื้อ 10 ชิ้น แต่ราคาลดลงเป็น 18 บาท คนจะซื้อเพิ่มเป็น 15 ชิ้น คึความหยือหยุ่นที่คือ





            ค่าความยืดหยุ่นที่ A = -5 หมายถึงว่า ถ้าราคาเปลี่ยนไป 1ปริมาณซื้อจะเปลี่ยนไป 5ส่วนเครื่องหมายเป็นลบเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อมีทิศทางตรงกันข้าม ค่าความยืดหยุ่นจะพิจารณาเฉพาะตัวเลขเท่านั้น
            สำหรับค่าความหยือหยุ่นที่จุด คือ


 จะเห็นว่าค่าความยืดหยุ่นที่จุด A = -5  ที่ B = -3 ได้ค่าไม่เท่ากันทั้งๆที่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อ และราคาที่มีค่าเท่ากัน เพียงแต่การใช้ราคาปริมาณเริ่มแรกที่แตกต่างกัน  ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาว่าจะใช้ค่าใดเป็นเริ่มแรก  การคำนวณค่าความยืดหยุ่นจึงมีอีกสูตรหนึ่ง คือ
ข. ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์บนช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ (Arc elasticity of  demand) คือ ช่วง AB
                        

 ซึ่งค่า -3.8 นี้ไม่ว่าจะใช้ราคาและปริมาณใดเป็นตัวเริ่มต้นก็ตามจะได้ค่าเท่ากับ -3.8 เสมอ


ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปสงค์
            สามารถแบ่งลักษณะของอุปสงค์ตามระดับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ได้ดังรูปที่ 3.1

ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์
                           ความยืดหยุ่นมาก (Elastic)                  ความยืดหยุ่นน้อย(Inelastic)
                        -  สินค้าที่มีของทดแทนได้มาก            -  สินค้าที่มีของทดแทนได้น้อย
                        -  สินค้าฟุ่มเฟือย                                   -  สินค้าจำเป็น
                        -  สินค้าคงทนถาวร                               -  สินค้าที่มีราคาเพียงเล็กน้อย

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์กับรายรับรวมจากการขายสินค้า
          รายรับรวม (Total Revenue) คำนวณได้มาจากการคูณราคาด้วยปริมาณ หรือ
                                                               รายรับรวาม  =  ราคา ปริมาณ
                                                                       TR        =     P  x    Q
           
ทั้งนี้ รายรับรวม อาจจะเพิ่มขึ้น หรือลดลงหรือคงที่ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดปริมาณซื้อที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณมากน้อยเพียงใด หรือขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ อย่างไรก็ดี ในเชิงทฤษฏีอาจสร้างตารางความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นกับรายได้และราคาสินค้าดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ตารางความยืดหยุ่นและรายรับรวมในกรณีลด - เพิ่มราคาสินค้า
ความยืดหยุ่นมาก (Elastic)
ความยืดหยุ่นคงที่(Unitary)
ความยืดหยุ่นน้อย(Inelastic)
P x Q
TR
P x Q
TR
P x Q
TR
  ก. ราคาสินค้าลดลง





10 x 1,000
10,000
10 x1,000
10,000
10 x 1,000
10,000
x 2,000
18,000
x 1,111
10,000
x 1,050
9,450
8 x 3,000
24,000
8 x 1,250
10,000
8 x 1,100
8,800
ข. ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น





x 3,000
24,000
x 1,250
10,000
x 1,100
8,800
9 x 2,000
18,000
9 x 1,111
10,000
9 x 1,050
9,450
10 x 1,000
10,000
10 x 1,000
10,000
10 x 1,000
10,000
         
             จากตารางแสดงความสัมพันธ์ของความยืดหยุ่นรายรับรวมและราคาจะสังเกตเห็นว่าถ้าราคาเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อ (1) ปริมาณซื้อและ (2) รายรับทั้งหมด จากความสัมพันธ์นี้เราจะนำไปใช้ในการวางแผนการตลาดของสินค้าที่จะนำออกขายในท้องตลาด  ทฤษฏีอุปสงค์ทั้งหมดที่ศึกษาก็เพื่อจะขจัดปัญหาความไม่แน่นอนในธุรกิจ  อีกนัยหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดผู้ขายทุกคนควรที่จะต้องทราบลักษณะของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ เพื่อกำหนดนโยบายราคาและพยากรณ์รายได้ของผู้ขาย  อันเป็นการนำมาซึ่งกำไรสูงสุดของผู้ประกอบการ จากหลักทฤษฏีเศรษฐศาสคร์ จึงอาจสรุปความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของราคากับรายรับได้ดังต่อไปนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นของอุปสงค์กับรายได้จากการขาย
ราคาสินค้า
Ed > 1
Ed = 1
Ed < 1
เพิ่ม
TR ลด
TR คงเดิม
TR เพิ่ม
ลด
TR เพิ่ม
TR คงเดิม
TR ลด


2. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand)

            อุปสงค์ต่อรายได้ หมายถึง จำนวนต่างๆ ของสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการเสนอซื้อ ณ ระดับรายได้ต่างๆ ภายในระยะเวลาหนึ่ง  โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่

            ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of demand) หมายถึง การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลง

       ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Ey)     =     การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อ
                                                                                                % การเปลี่ยนแปลงของรายได้

                        ก. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้แบบจุด
                                              


โดยที่ :  Ey       = ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
Q1                ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับรายได้เดิม
Q        = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับรายได้ใหม่
Y1                  ระดับรายได้เดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
Y2                  ระดับรายได้หลังการเปลี่ยนแปลง
                        ข. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้แบบช่วง
                                    


            ถ้าค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้มีเครื่องหมายเป็นบวกแสดงว่าเป็นสินค้าปกติ (Normal Goods) หรือสินค้าฟุ่มเฟือย (Superior Goods) และถ้ามีเครื่องหมายเป็นลบแสดงว่าเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) เพราะเมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นจะซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง
3. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Cross - Price Elasticity of Demand)
            อุปสงค์ไขว้ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ พิจารณาต่อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาหนึ่ง โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Cross - Price Elasticity of Demand) หมายถึง การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลง
สินค้าที่เกี่ยวข้องกันแบ่งได้ ชนิด ดังนี้
            สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary Goods) เป็นสินค้าที่ในการอุปโภคบริโภคต้องใช้ร่วมกัน ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะไม่สามารถบริโภคได้ เช่น รถยนต์และน้ำมัน เป็นต้น ความสัมพันธ์ของสินค้าที่ต้องใช้ประกอบกันจะมีทิศทางตรงกันข้ามหรือเป็น -
            สินค้าทดแทนกัน (Substitute Goods) เป็นสินค้าที่ในการอุปโภคบริโภค ถ้าหาสินค้าชนิดหนึ่งไม่ได้สามารถใช้สินค้าอีกชนิดหนึ่งทดแทนได้ เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ เป็นต้น ความสัมพันธ์ของสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้จะมีทิศทางเดียวกันหรือเป็น +

                      ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Ec)      =     %การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A        
                                                                                                         % การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า B
                        ก. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ไขว้แบบจุด
                                  


โดยที่ Ec        = ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้
QA1       = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับราคาสินค้า ก่อนการเปลี่ยนแปลง
QA2             ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A ณ ระดับราคาสินค้า หลังการเปลี่ยนแปลง
PB1        = ราคาสินค้า ก่อนการเปลี่ยนแปลง
PB2        = ราคาสินค้า หลังการเปลี่ยนแปลง

                        ข. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ไขว้แบบช่วง


ถ้าคำนวณได้ค่าเป็นบวก ( + ) แสดงถึง เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน และถ้าคำนวณได้ค่าเป็นลบ ( - )แสดงถึง เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of Supply)
            ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of Supply) หมายถึง เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการขายสินค้าต่อเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า ค่าความยืดหยุ่นที่คำนวณได้จะมีเครื่องหมายเป็นบวกเนื่องจากราคาและปริมาณความต้องการขายมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปทานทำได้ดังนี้
ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา (Es)     =       การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการขาย                                                                                                                  % การเปลี่ยนแปลงของราคา
                         ก. สูตรความยืดหยุ่นของอุปทานแบบจุด (Point elasticity of Demand)

โดยที่ :  Es       = ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา
Q        = ปริมาณความต้องการขาย ณ ระดับราคาเดิม
Q        = ปริมาณความต้องการขาย ณ ระดับราคาใหม่
P        = ราคาสินค้าเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
P        = ราคาสินค้าหลังการเปลี่ยนแปลง

            ข ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานแบบช่วง
                     
ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปทาน
            สามารถแบ่งลักษณะของอุปทานตามระดับความยืดหยุ่นของอุปทานได้ดังรูปที่ 3.2

ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน
            ความยากง่ายและเวลาที่ใช้ในการผลิต สินค้าที่สามารถผลิตได้ง่ายและใช้เวลาในการผลิตสั้นอุปทานของสินค้ามีค่าความยืดหยุ่นสูง
            ปริมาณสินค้าคงคลัง สินค้าที่มีสินค้าคงคลังสำรองมาก อุปทานของสินค้าจะมีความยืดหยุ่นสูง
            ความหายากของปัจจัยการผลิต ถ้าปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้ามีจำนวนจำกัดและหายาก ต้องใช้เวลาในการหาปัจจัยการผลิตนาน อุปทานของสินค้าชนิดนั้นจะมีความยืดหยุ่นต่ำ
            ระยะเวลา ถ้าระยะเวลานานความยืดหยุ่นของอุปทานจะมากเพราะผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิตได้ทุกชนิด แม้แต่เทคโนโลยีและเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ


ประโยชน์ของค่าความหยืดหยุ่นของอุปสงค์
1.    ในการวางนโยบายหรือมาตรการของรัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีจากสินค้า รัฐจะต้องรู้ว่าสินค้านั้นมีความ
หยืดหยุ่นเท่าไร เพื่อจะได้ทราบว่าภาระภาษีจะตกไปบุคคลกลุ่มใด
2.    ช่วยให้หน่วยุรกิจสามารถดำเนินกลยุทธทางด้านราคาได้อย่างถูกต้องว่าสินค้าชนิดใดควรตั้งราคาสินค้า
ไว้สูงหรือต่ำเพียงใด  ควรเพิ่มหรือลดราคาสินค้า จึงจะทำให้รายได้รวมกำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น
3.    นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ




ที่มา  (msci.chandra.ac.th/econ/ch3elastic.doc)

             ในกรณีที่รัฐบาลมีความเห็นว่าราคา ณ ระดับ P0 สูงเกินไปและกำหนดว่าราคาต้องไม่สูงเกินกว่าระดับ P max ในกรณีดังกล่าวผลที่เกิดขึ้นคือ ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่า ราคาดุลยภาพ ผู้ผลิตย่อมผลิตในปริมาณที่ต่ำกว่าปริมาณดุลยภาพ ดังนั้น ปริมาณอุปทานจะลดลงไปอยู่ที่ระดับ Q1 ในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคย่อมมีอุปสงค์เพิ่มมากขึ้น ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ปริมาณความต้องการซื้อ หรือปริมาณอุปสงค์จึงสูงกว่าปริมาณอุปทานในปริมาณ Q1 - Q2 หรือที่เรียกว่าอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)


การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นสูง ทำเพื่อใคร

             การประกันราคา ให้ตํ่ากว่าราคาดุลยภาพ เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเนื่องจากราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเดือดร้อนสินค้าประเภทนี้โดยทั่วไปแล้วเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ


การประกันราคาขั้นต่ำคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นต่ำ

            การกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum price control)คือ รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สิ้นค้าชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป


             ราคาซื้อขายกัน ณ จุด E เป็น การซื้อขาย ที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายซึ่งเป็นเกษตรกร เดือดร้อน เพราะราคาต่ำ รัฐบาลจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือ โดยการกำหนดราคาขั้นต่ำหรือการพยุงราคา ไว้ที่ OP3500 ซึ่งสูงกว่าราคาที่เป็นอยู่ และเมื่อราคาสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ผลิตสินค้ามาจำหน่ายมากขึ้น จาก OQ2 เป็น OQa3
แต่ ณ ราคานี้ เต็มใจซื้อสินค้าเพียง OQa1  ซึ่งจะทำให้มีสินค้าเหลือ จำนวน FH ซึ่งเราเรียกว่า “อุปทานส่วนเกิน” ( EXCESS  SUPPLY) และถ้าหากรัฐบาลต้องการจะให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะต้องเข้าไปรับซื้อส่วนเกินนี้ไว้ จึงจะทำให้จุด Fการซื้อขายเข้าสู่จุด ดุลยภาพ
            นี่คือ นโยบายแทรกแซงราคา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิต  โดยการกำหนดราคาขั้นต่ำหรือที่เรียกว่า การพยุงราคาสินค้าเกษตร
            นอกจากนี้ รัฐยังมีการช่วยเหลือ ด้วยการให้เงินอุดหนุน ( Subsidies) แก่ผู้ผลิต เป็นต้น

            ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ

- เพิ่มอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าโดยรัฐอาจลดภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือเชิญชวนให้บริโภคสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น

- ลดอุปทาน โดยการจำกัดการผลิต เช่น การผลิตสินค้าชนิดนั้นลดลงและผลิตสินค้าชนิดอื่นแทน


การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นต่ำ ทำเพื่อใคร

      การควบคุมราคาขั้นต่ำ เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน จากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป การควบคุมราคาขั้นต่ำส่วนใหญ่จะควบคุมสินค้าที่เป็นสินค้าเกษตรซึ่งรัฐบาลเห็นว่าราคาผลผลิตต่ำเกินไปทำให้เกษตรกรเดือดร้อน การควบคุมราคาขั้นต่ำนั้นรัฐบาลจะกำหนดราคาซื้อขายสินค้าไม่ให้ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนด
         


ที่มา (https://www.gotoknow.org/posts/215914)

ที่มา  (http://www.ceted.org/course/websocial/c05/flash/content_c05_p21.swf)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น