วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

โปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดอินเตอร์เน็ต มีชื่อเรียกว่าอะไร และจงยกตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เปิดอินเตอร์เน็ต มา 6 โปรแกรม


Web browser (เว็บบราวเซอร์)
           Web browser (เว็บบราวเซอร์) คือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโ้ปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ World Wide Web (WWW)

โปรแกรมที่ใช้เปิดอินเตอร์เน็ต


1.Mozilla Firefox

สำหรับชื่อ Mozilla Firefox นี้หลายๆคนคงจะเคยคุ้นกันเป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่านักท่องเว็บที่เน้นความเร็วเป็นหลัก โดยเจ้าหมาป่าไฟจากค่าย Mozilla ถือได้ว่าเป็นเบราเซอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้เพราะเป็นโปรแกรมที่สามารถปฏิบัติการได้ทั้งบนระบบ Microsoft Windows, Linux และ Mac OS X

มาว่ากันถึงข้อดี-ข้อเสียของ Mozilla Firefox กันบ้างดีกว่า

ข้อดี :
1. Mozilla Firefox เป็นเบราเซอร์ที่มีความเร็วพอสมควร แถมกินแรมน้อยมากทำให้ไม่หนักเครื่องเราด้วย

2. Mozilla Firefox เป็นเบราเซอร์ที่มีปลั๊กอินเสริม Add-ons มากมายให้หามาใช้งานกัน โดยในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ก็มีสกินใหม่ๆให้เราปรับเปลี่ยนแก้เบื่อได้ตามใจเราถึงกว่า 30,000 แบบทีเดียว

3. Mozilla Firefox สามารถรองรับความสามารถ HTML5 ได้ดีกว่าเวอร์ชั่นรุ่นก่อนๆ เยอะเลย


ข้อเสีย : บางครั้ง Mozilla Firefox ไม่สามารถเปิดเว็บที่มีระบบป้องกันความปลอดภัยสูงๆได้ นอกจากนี้ยังมีระบบตัดคำภาษาไทยที่ไม่ค่อยจะเวิร์กเสียเท่าไหร่ ทำให้บางทีอ่านคำหรือประโยคแล้วความหมายอาจจะเพี้ยนไปบ้าง

2.Google Chrome

Google Chrome จากบริษัทเซิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่อย่าง Google ยังคงรักษาคอนเซปต์ความเรียบง่ายตามสไตล์ของพวกเขาไว้ได้อย่างครบถ้วน โดยหน้าเว็บเบราเซอร์ของ Chrome สะท้อนความเรียบง่ายในฝั่งอินเตอร์เฟซที่สามารถผนวกเข้ากับเทคโนโลยีการค้นหาข้อมูลอันซับซ้อนในฉากหลังได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ใช้ได้สัมผัสกับประสบการณ์การโหลดหน้าเว็บที่เร็วขึ้น ปลอดภัยกว่าเดิม และใช้งานได้ง่ายแม้กระทั่งมือใหม่หัดเล่นอินเตอร์เน็ตก็ตาม

แน่นอนว่า Google Chrome เองก็มีทั้งข้อดีละข้อเสียไม่ต่างจากเบราเซอร์ของค่ายอื่นๆเช่นกัน

ข้อดี :
1. Google Chrome สามารถโหลดหน้าเว็บได้รวดเร็วกว่าเบราเซอร์อื่นอีกหลายๆ ตัว

2. Google Chrome มีพื้นที่หน้าเว็บขนาดใหญ่และไม่รกรุงรัง ไม่มีแถบเครื่องมือชวนให้ลายตาเหมือน เบราเซอร์ของค่ายอื่น

3. Google Chrome สามารถค้นหาคำที่ต้องการจากช่อง URL ได้ทันทีผ่านระบบค้นหาอันเป็นเอกลักษณ์ของ Google นั่นเอง เพียงแค่เราพิมพ์ข้อความที่เราต้องการค้นหาลงไปที่ช่อง URL ก็สามารถค้นหาข้อมูลได้แล้วขณะที่เบราเซอร์ตัวอื่นๆ ไม่สามารถทำได้เช่นนี้

4. Google Chrome สามารถดึงแท็บต่างๆของหน้าเว็บที่เราเปิดอยู่เข้ามารวมเป็นอันเดียวกันหรือจะแยกออกมาก็สามารถทำได้เพียงปลายนิ้วคลิกเท่านั้น

5. เมื่อเราดาวน์โหลดไฟล์หรือข้อมูลใดๆก็ตามผ่าน Google Chrome หน้าต่างดาวน์โหลดจะไม่เด้งออกมาจากหน้าเว็บเหมือนเบราเซอร์ตัวอื่นๆ เพราะใน Google Chrome หน้าต่างการดาวน์โหลดจะถูกโยกย้ายไปวางไว้ในแถบด้านล่างของหน้าเว็บซึ่งจะช่วยให้เพื่อนๆเห็นว่าไฟล์ถูกดาวน์โหลดไปได้มากน้อยเท่าไหร่แล้วนั่นเอง


ข้อเสีย : 
1. การแก้ไขข้อความต่างๆ ใน Google Chrome ทำได้ลำบากพอสมควร เพราะไม่ว่าเราจะใช้เมาส์คลิกที่ส่วนไหนของข้อความ Cursor จะชอบเด้งไปอยู่ข้างหน้าข้อความตลอดเลย


2. ส่วนการลากทับข้อความ บางครั้งจะคลุมได้ไม่หมดทั้งๆ ที่เรามั่นใจว่าลากคลุมไปหมดแล้วทั้งข้อความ (ไม่รู้ว่าจะเหลือไว้ทำไม!!!) บางทีเลยต้องหันไปหาศาสตร์มืดอย่างพวกคีย์ชอร์ทคัตต่างๆก็จะช่วยไปได้มากเลย


3.Internet Explorer 

Internet Explorer 8 หนึ่งเดียวที่เหลือรอดมาจากยุค Netscape Navigator เฟื่องฟูเป็นเบราเซอร์ที่อยู่คู่บ้านคู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows มาช้านาน ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ IE8 ที่ได้รับการพัฒนาโดยตรงจาก Microsoft ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นโปรแกรมท่องเว็บที่ยังได้รับความนิยมอยู่อย่างเหนียวแน่นจากแฟนๆเสมอมา โดยล่าสุด Microsoft ได้พัฒนาเวอร์ชั่นใหม่นั่นก็คือ Internet Explorer 9 ซึ่งสามารถตอบรับกับความสามารถของระบบ Windows 7 OS นั่นเอง

IE8 แม้จะอยู่มานานกว่าใคร แต่ก็ใช่ว่าเขาจะทำผิดไม่เป็นเหมือนคนอื่น จริงไหม

ข้อดี :
1. Internet Explorer 8 ถือได้ว่าเป็นเบราเซอร์ที่มีคนใช้เยอะพอสมควร เพราะเป็นเบราเซอร์ที่มีความเสถียรในลำดับต้นๆ

2. Internet Explorer 8 ทำให้เราท่องเว็บอย่างปลอดภัยไร้กังวลเพราะมีระบบจัดการความเป็นส่วนตัวที่เข้มงวด

3. ส่วนมากผู้สร้างเว็บไซต์โดยทั่วไปจะใช้งาน IE เป็นเบราเซอร์หลักในการตรวจสอบฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆบนหน้าเว็บไซต์ ทำให้เว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่เปิดผ่าน IE มีรูปร่างหน้าตาที่สวยงามครบถ้วนไม่พบความพิกลพิการแต่อย่างใด


ข้อเสีย : Internet Explorer 8 เป็นเบราเซอร์ที่โหลดหน้าเว็บได้ช้าที่สุดก็ว่าได้ นอกจากนี้ถ้าเราเปิดใช้งานหลายๆแท็บ รับรองได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องสูญเสียแรมไปเป็นจำนวนมากจนทำให้เพื่อนๆต้องประสบปัญหาหน้าเว็บค้างเติ่งเป็นจอขาว หรือไม่ก็เครื่องทำงานได้อืดสุดๆอย่างแน่นอน


4.Opera 

Opera เป็นเบราเซอร์ที่ได้ชื่อว่าเร็วที่สุดในบรรดา 5 จตุรเทพทั้งหมดนี้ โดยจุดเด่นของ Opera10 จะอยู่ที่ระบบ Opera Turbo หรือเทคโนโลยีในการบีบอัดข้อมูลสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ (WOW!!!) ทำให้เบราเซอร์ตัวนี้นอกเหนือจากจะเป็นที่ชื่นชอบของทางฝั่งผู้ใช้งาน PC แล้ว มือถือก็เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่เหมาะสมกับความสามารถที่ไม่ธรรมดาของ Opera ตามไปด้วย

ข้อดี :
1. จากที่ได้ทดสอบมา Opera เป็นเบราเซอร์ที่มีการโหลดหน้าเว็บเร็วที่สุดในบรรดาเบราเซอร์ทั้งหมด

2. Opera สามารถย่อหรือขยายแท็บบนหน้าเว็บได้ นอกจากนี้ในเวอร์ชั่น Opera 10.63 เราจะสามารถกำหนดให้แท็บอยู่ฝั่งซ้าย ขวา บน หรือล่างได้ดั่งใจเลย

3. การดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ บนหน้าเว็บ เช่น การโหลดเพลง จะมีหน้าต่างดาวน์โหลดโชว์ขึ้นที่แท็บข้างบน และใช้เวลาไม่นานในการดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆอีกด้วย

4.Opera สามารถรองรับระบบ HTML, JavaScript และ CSS ได้ดีพอสมควร

5.Opera จะมีฟังก์ชั่น Opera Turbo ในตัวเพื่อให้เราสามารถเล่นเน็ตได้เร็วขึ้นแม้เน็ตบ้านหรือที่ทำงานจะเน่าเพียงใด โดยเราสามารถเรียกใช้ได้จากมุมล่างซ้ายมือของหน้าเว็บ
6.Opera สามารถให้อัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ ได้อัตโนมัติ แถมกินแรมน้อยทำให้ไม่หนักเครื่องเราด้วย


ข้อเสีย : Opera บางครั้งก็เจอปัญหาโหลดแท็บช้าเหมือนกัน นอกจากนี้ภาษาไทยก็ยังมีเหวงๆบ้างโดยเฉพาะคำไทยที่มีวรรณยุกต์ทั้งหลายจะชอบ ลอย อ่านแล้วชวนปวดเศียรเวียนเฮดมากมาย


5.Safari 
Safari เดิมทีตั้งต้นเป็นเบราเซอร์สุดเอ็กซคลูซีฟที่ Apple พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่อง Mac โดยเฉพาะ แต่ว่าในปัจจุบัน Safari ได้รับการยกระดับให้สามารถใช้งานได้กับเครื่อง Windows ทั่วไปๆ แล้ว จึงทำให้ Safari เริ่มเป็นชื่อที่คุ้นหูใครหลายคนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ Safari ยังเป็นเบราเซอร์ที่มีความสวยงามและเก๋ไก๋สไลเดอร์สมกับเป็นผลิตภัณฑ์ของ Apple ได้อีก

ข้อดี :
1. Safari เป็นเบราเซอร์ที่มีหน้าตาสวยงามที่มาพร้อมกับลูกเล่นดีๆ เจ๋งๆ อีกเพียบ ทำให้เราสามารถปรับแต่งหน้าเบราเซอร์หลักได้ง่ายและถูกใจผู้ใช้มากยิ่งขึ้น

2. การใช้งาน Safari ทำได้เร็วดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการโหลดหน้าเว็บหรือเปิดแท็บใหม่

3. การท่องเว็บเป็นส่วนตัวมากขึ้นโดยผู้ใช้จะไม่ทิ้งร่องรอยการเข้าเว็บเลย หากเปิดรูปแบบการใช้งานเบราเซอร์แบบส่วนตัวนั่นเอง

4. Safari เป็นเบราเซอร์ตัวแรกที่สามารถรองรับการใช้งานระบบ HTML5 และ CSS 3 ได้ในตัว


ข้อเสีย : Safari 5 มีลูกเล่นเยอะอยู่ก็จริงหรอก แต่ว่าสุดท้ายก็อีหรอบเดิมคือมีแต่สาวก Mac เท่านั้นที่ได้ใช้งานเครื่องมือต่างๆอย่างเต็มที่ ส่วนลูกเมียน้อยอย่าง Windows ก็ร้องเพลงรอกันต่อไป นอกจากนี้เครื่อง Windows ที่ใช้งาน Safari ในบางครั้งก็อาจพบปัญหาการโหลดเปิดหน้าเว็บช้าเป็นบางอารมณ์ด้วย


6.Baidu Spark
Baidu Spark ถ้าถามว่าดีหรือไม่ และเป็นอันตรายหรือเปล่านั้นขอบอกได้เลยว่ามีแบ่งเป็น 2 ความเห็น ในบางกระแสกล่าวว่า Baidu Spark ใช้งานได้ง่าย มีลักษณะคล้าย Google Chrome ผสมกับ Firefox รวมไปถึงยังมีฟีเจอร์ที่คอยอำนวยความสะดวกมากมาย แต่กระนั้นแล้วรูปแบบการมาของโปรแกรม Baidu Spark อาจจะทำให้หลายคนไม่พอใจเช่น แอบแฝงมากับโปรแกรมโดยที่เราไม่รู้ตัว และในบางครั้งถ้าติดตั้งโปรแกรมแล้วอ่านไม่ถี่ถ้วนเจ้าโปรแกรมนี้ก็มาติดตั้งบนเครื่องและตั้งค่าเป็นเบราเซอร์ปริยายให้โดยอัตโนมัติโดยไม่รู้ตัว หรือที่แย่กว่านั้นคือหลายๆ คนต่างบอกว่า?Baidu Spark ส่งผลโดยตรงต่อโปรแกรมเบราเซอร์อื่นๆ หรือส่งผลต่อเครื่องให้ช้าลงเป็นต้น

ข้อดี :
1.Baidu Spark ทำงานได้ไวมาก ช่วงแรกๆๆ

2.ใช้งานได้ง่าย มีลักษณะคล้าย Google Chrome ผสมกับ Firefox

3.มีฟีเจอร์ที่คอยอำนวยความสะดวกมากมาย


ข้อเสีย :
1.แอบแฝงมากับโปรแกรมโดยที่เราไม่รู้ตัว และในบางครั้งถ้าติดตั้งโปรแกรมแล้วอ่านไม่ถี่ถ้วนเจ้าโปรแกรมนี้ก็มาติดตั้งบนเครื่องและตั้งค่าเป็นเบราเซอร์ปริยายให้โดยอัตโนมัติโดยไม่รู้ตัว

2.ที่แย่กว่านั้นคือหลายๆ คนต่างบอกว่า Baidu Spark ส่งผลโดยตรงต่อโปรแกรมเบราเซอร์อื่นๆ หรือส่งผลต่อเครื่องให้ช้าลง

ที่มา (http://www.techxcite.com/topic/4370.html)
(http://notebookspec.com/topics/baidu/)

อินเตอร์เน็ตคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

อินเทอร์เน็ต คืออะไร

       อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP (Internet protocal) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข

1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254

1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534

1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214

ประวัติในระดับนานาชาติ

- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)

- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น

- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง

- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น

- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

- อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านการศึกษา

  • เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่เราสนใจ เป็นต้น
  • ทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ หรือคลังหนังสือมหาศาล
  • นักเรียน และนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับโรงเรียน และมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
  • ทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านธุรกิจและเชิงพาณิชย์

  • เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
  • สามารถซื้อ – ขายสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • บริษัทหรือองค์กรต่างๆสามารถให้บริการและสนับสนุนลูกค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ ตอบปัญหาต่างๆให้แก่ลูกค้า เป็นต้น
  • ทำการตลาด การโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านความบันเทิง

  • ค้นหา Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆได้
  • ฟังวิทยุผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
  • สามารถดึงดาวน์โหลด (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และเก่ามาดูได้

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์มีความสำคัญในรูปแบบอื่นๆอีก

  1. ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเหมือนกับการส่งจดหมายแบบเดิมๆ แต่การส่งอีเมล์จะรวดเร็วกว่ามาก
  2. โอนถ่ายข้อมูล ค้นหา และเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียง
  3. ค้นข้อมูลข่าวสาร ที่มีอยู่มากมายจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้ ผ่าน World wide Web
  4. สื่อสารด้วยข้อความ Chat เป็นการพูดคุยโดยพิมพ์ข้อความตอบกัน การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้อยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม

ที่มา ของประวัติและความเป็นมา Internet (http://guru.sanook.com/2774/)
ที่มาของประโยชน์ Internet (http://www.hitechsky.com)

ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร มีกี่ประเภท มีโทษอย่างไร

ไวรัสคอมพิวเตอร์

       ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัตินําตัวเองไปติดปะปนกับโปรแกรมอื่น ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อก่อกวนทำลายระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเป็นโปรแกรมที่สามารถกระจายจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เช่น โดยผ่านทาง แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette ) แฟรชไดรฟ์ หรือระบบเครือข่ายข้อมูล ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่โดนไวรัสเล่นงานจะเกิดความเสียหาย ต่อข้อมูลที่อยู่บนดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ หรือเกิดการทํางานที่ไม่พึงประสงค์เช่น การลบไฟล์ที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์หรือฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เป็นต้น
       อย่างไรก็ตามการทํางานของไวรัสโดยส่วนใหญ่ทั่วไปแล้ว จะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การทําลาย แต่จะมีการทํางานอย่างง่ายๆ เช่น การขู่หรือการแสดงข้อความเพื่อให้เกิดความกลัว ไวรัสจะทํางานเฉพาะในหน่วยความจํา ของระบบเท่านั้น และจะอยู่จนกว่าจะมีการปิดเครื่อง เมื่อมีการปิดเครื่องไวรัสก็จะถูกกําจัดออกจากหน่วยความจําด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าได้กําจัดไวรัสออกจากระบบ เพราะการปิด เครื่องไม่ได้เป็นการกําจัดไวรัสออกจากไฟล์โปรแกรม หรือจากแผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ที่มีไวรัสแอบแฝงอยู่ เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ในครั้งต่อไป ไวรัสก็จะทํางานด้วย และมันก็จะทําการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมอื่นๆ ด้วยการทํางานของโปรแกรมไวรัสเอง

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ 



ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์และโทษของไวรัสละประเภท แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ไวรัสตามวิธีการติดต่อ

         1.1 ม้าโทรจัน ม้าโทรจัน (Trojan Horse)  เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมา ให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรม พร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบาย การใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจัน อาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์ เพื่อที่จะล้วงเอาความลับ ของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่า ไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดดๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่น เพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้น และนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

        1.2 โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses)  เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัส ที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้ เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัส ที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้ เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

        1.3 สทีลต์ไวรัส (Stealth Viruses)   เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถ ในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใด แล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตาม เพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

2. ไวรัสตามลักษณะการทำงาน

        2.1 ไฟล์ไวรัส (File Viruses)  คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในแฟ้มข้อมูล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแฟ้มข้อมูลแบบ Executite ได้แก่ไฟล์ประเภท .EXE .COM .DLL เป็นต้น การทำงานของไวรัสคือจะไปติดบริเวณ ท้ายแฟ้มข้อมูล แต่จะมีการเขียนคำสั่งให้ไปทำงานที่ตัวไวรัสก่อน เสมอ เมื่อมีการ เปิดใช้แฟ้มข้อมูล ที่ติดไวรัส คอมพิวเตอร์ก็จะถูกสั่งให้ไปทำงานบริเวณ ส่วนที่เป็นไวรัสก่อน แล้วไวรัสก็จะฝังตัวเองอยู่ในหน่วยความจำเพื่อ ติดไปยังแฟ้มอื่นๆ ต่อไป

       2.2 บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses)  คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การทำงานก็คือ เมื่อเราเปิดเครื่อง เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง ถ้าหากว่าบูตเซกเตอร์ ได้ติดไวรัส โปรแกรมที่เป็นไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย โปรแกรมไวรัสก็จะโหลดเข้าไปในเครื่อง และจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไวรัสประเภทนี้ มักจะติดกับแฟ้มข้อมูลด้วยเสมอ

3. ไวรัสตามลักษณะแฟ้มที่ติดไวรัส

       3.1 มาโครไวรัส (Macro Viruses)  เป็นไวรัสรูปแบบหนึ่งที่ พบเห็นได้มากที่สุด และระบาดมาที่สุดในปัจจุบัน (เมษายน 2545) ซึ่งการทำงานจะอาศัยความสามารถ ในการใช้งานของ ภาษาวิชวลเบสิก ที่มีใน Microsoft Word ไวรัสชนิดนี้จะติดเฉพาะไฟล์เอกสารของ Word ซึ่งจะฝังตัวในแฟ้ม นามสกุล .doc .dot การทำงานของไวรัส จะทำการคัดลอกตัวเองไปยังไฟล์อื่นๆ ก่อให้เกิดความรำคาญในการทำงาน เช่นอาจจะทำให้เครื่องช้าลง ทำให้พิมพ์ของทางเครื่องพิมพ์ไม่ได้ หรือทำให้เครื่องหยุดการทำงานโดยไม่มีสาเหตุ
       3.2 โปรแกรมไวรัส (Program Viruses หรือ File Intector Viruses)   เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง ที่จะติดกับไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ใน โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้ เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเอง เข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยน และยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
     
      การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อน และจะถือโอกาสนี้ ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป



ที่มา (http://www.lampang.go.th/db_lap/mtn/index.html)

การประกันราคาขั้นสูงคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาหรือการประกันราคาขั้นสูง

            การกำหนดราคาหรือการประกันราคาขั้นสูง (Price ceiling)คือ การแทรกแซงราคาสินค้าโดยทั่วไปของรัฐบาล เพื่อไม่ให้สินค้ามีราคาสูงเกินไป ด้วยการกำหนดราคาขั้นสูง อันเป็นราคาที่ต่ำกว่าตลาดหรือดุลยภาพ


แผนภูมิแสดงการควบคุมราคา ถ้ารัฐบาลไม่มีการแทรกแซงตลาด ระดับราคา P0 คือราคาดุลยภาพ และปริมาณ Q0 คือปริมาณดุลยภาพ


             ในกรณีที่รัฐบาลมีความเห็นว่าราคา ณ ระดับ P0 สูงเกินไปและกำหนดว่าราคาต้องไม่สูงเกินกว่าระดับ P max ในกรณีดังกล่าวผลที่เกิดขึ้นคือ ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่า ราคาดุลยภาพ ผู้ผลิตย่อมผลิตในปริมาณที่ต่ำกว่าปริมาณดุลยภาพ ดังนั้น ปริมาณอุปทานจะลดลงไปอยู่ที่ระดับ Q1 ในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคย่อมมีอุปสงค์เพิ่มมากขึ้น ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ปริมาณความต้องการซื้อ หรือปริมาณอุปสงค์จึงสูงกว่าปริมาณอุปทานในปริมาณ Q1 - Q2 หรือที่เรียกว่าอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)


การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นสูง ทำเพื่อใคร

             การประกันราคา ให้ตํ่ากว่าราคาดุลยภาพ เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเนื่องจากราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเดือดร้อนสินค้าประเภทนี้โดยทั่วไปแล้วเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ



ที่มา  (http://www.ceted.org/course/websocial/c05/flash/content_c05_p21.swf)

การประกันราคาขั้นต่ำคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นต่ำ

            การกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum price control)คือ รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สิ้นค้าชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป


             ราคาซื้อขายกัน ณ จุด E เป็น การซื้อขาย ที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายซึ่งเป็นเกษตรกร เดือดร้อน เพราะราคาต่ำ รัฐบาลจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือ โดยการกำหนดราคาขั้นต่ำหรือการพยุงราคา ไว้ที่ OP3500 ซึ่งสูงกว่าราคาที่เป็นอยู่ และเมื่อราคาสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ผลิตสินค้ามาจำหน่ายมากขึ้น จาก OQ2 เป็น OQa3
แต่ ณ ราคานี้ เต็มใจซื้อสินค้าเพียง OQa1  ซึ่งจะทำให้มีสินค้าเหลือ จำนวน FH ซึ่งเราเรียกว่า “อุปทานส่วนเกิน” ( EXCESS  SUPPLY) และถ้าหากรัฐบาลต้องการจะให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะต้องเข้าไปรับซื้อส่วนเกินนี้ไว้ จึงจะทำให้จุด Fการซื้อขายเข้าสู่จุด ดุลยภาพ
            นี่คือ นโยบายแทรกแซงราคา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิต  โดยการกำหนดราคาขั้นต่ำหรือที่เรียกว่า การพยุงราคาสินค้าเกษตร
            นอกจากนี้ รัฐยังมีการช่วยเหลือ ด้วยการให้เงินอุดหนุน ( Subsidies) แก่ผู้ผลิต เป็นต้น

            ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ

- เพิ่มอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าโดยรัฐอาจลดภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือเชิญชวนให้บริโภคสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น

- ลดอุปทาน โดยการจำกัดการผลิต เช่น การผลิตสินค้าชนิดนั้นลดลงและผลิตสินค้าชนิดอื่นแทน


การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นต่ำ ทำเพื่อใคร

      การควบคุมราคาขั้นต่ำ เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน จากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป การควบคุมราคาขั้นต่ำส่วนใหญ่จะควบคุมสินค้าที่เป็นสินค้าเกษตรซึ่งรัฐบาลเห็นว่าราคาผลผลิตต่ำเกินไปทำให้เกษตรกรเดือดร้อน การควบคุมราคาขั้นต่ำนั้นรัฐบาลจะกำหนดราคาซื้อขายสินค้าไม่ให้ต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนด
         


ที่มา (https://www.gotoknow.org/posts/215914)

การประกันราคาขั้นสูงคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาหรือการประกันราคาขั้นสูง

            การกำหนดราคาหรือการประกันราคาขั้นสูง (Price ceiling)คือ การแทรกแซงราคาสินค้าโดยทั่วไปของรัฐบาล เพื่อไม่ให้สินค้ามีราคาสูงเกินไป ด้วยการกำหนดราคาขั้นสูง อันเป็นราคาที่ต่ำกว่าตลาดหรือดุลยภาพ


แผนภูมิแสดงการควบคุมราคา ถ้ารัฐบาลไม่มีการแทรกแซงตลาด ระดับราคา P0 คือราคาดุลยภาพ และปริมาณ Q0 คือปริมาณดุลยภาพ

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทาน มีประโยชน์อย่างไร

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand)

            ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of Demand) หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงความต้องการซื้อสินค้าต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆ ที่กำหนดอุปสงค์ เช่น ราคา รายได้ ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ความยืดหยุ่นของอุปสงค์มี ชนิด ดังนี้

1. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand)

 เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง โดยวัดออกมาในรูปของร้อยละ

        ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Ed)    =     การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อ
                                                                                              % การเปลี่ยนแปลงของราคา

            โดยสูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความหยือหยุ่นนั้นมี 2 ลักษณะ คือ

            ก. สูตรความยืดหยุ่นของอุปงค์แบบจุด (Point elasticity of Demand)


โดยที่ :  Ed        = ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
Q        = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับราคาเดิม
Q        = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับราคาใหม่
P        = ราคาสินค้าเดิมก่อนมีการเปลี่ยนแปลง
P        = ราคาสินค้าหลังการเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง สินค้าราคา 20 บาท มีคนซื้อ 10 ชิ้น แต่ราคาลดลงเป็น 18 บาท คนจะซื้อเพิ่มเป็น 15 ชิ้น คึความหยือหยุ่นที่คือ





            ค่าความยืดหยุ่นที่ A = -5 หมายถึงว่า ถ้าราคาเปลี่ยนไป 1ปริมาณซื้อจะเปลี่ยนไป 5ส่วนเครื่องหมายเป็นลบเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณความต้องการซื้อมีทิศทางตรงกันข้าม ค่าความยืดหยุ่นจะพิจารณาเฉพาะตัวเลขเท่านั้น
            สำหรับค่าความหยือหยุ่นที่จุด คือ


 จะเห็นว่าค่าความยืดหยุ่นที่จุด A = -5  ที่ B = -3 ได้ค่าไม่เท่ากันทั้งๆที่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการซื้อ และราคาที่มีค่าเท่ากัน เพียงแต่การใช้ราคาปริมาณเริ่มแรกที่แตกต่างกัน  ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาว่าจะใช้ค่าใดเป็นเริ่มแรก  การคำนวณค่าความยืดหยุ่นจึงมีอีกสูตรหนึ่ง คือ
ข. ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์บนช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ (Arc elasticity of  demand) คือ ช่วง AB
                        

 ซึ่งค่า -3.8 นี้ไม่ว่าจะใช้ราคาและปริมาณใดเป็นตัวเริ่มต้นก็ตามจะได้ค่าเท่ากับ -3.8 เสมอ


ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปสงค์
            สามารถแบ่งลักษณะของอุปสงค์ตามระดับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ได้ดังรูปที่ 3.1

ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์
                           ความยืดหยุ่นมาก (Elastic)                  ความยืดหยุ่นน้อย(Inelastic)
                        -  สินค้าที่มีของทดแทนได้มาก            -  สินค้าที่มีของทดแทนได้น้อย
                        -  สินค้าฟุ่มเฟือย                                   -  สินค้าจำเป็น
                        -  สินค้าคงทนถาวร                               -  สินค้าที่มีราคาเพียงเล็กน้อย

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์กับรายรับรวมจากการขายสินค้า
          รายรับรวม (Total Revenue) คำนวณได้มาจากการคูณราคาด้วยปริมาณ หรือ
                                                               รายรับรวาม  =  ราคา ปริมาณ
                                                                       TR        =     P  x    Q
           
ทั้งนี้ รายรับรวม อาจจะเพิ่มขึ้น หรือลดลงหรือคงที่ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดปริมาณซื้อที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณมากน้อยเพียงใด หรือขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของอุปสงค์ อย่างไรก็ดี ในเชิงทฤษฏีอาจสร้างตารางความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นกับรายได้และราคาสินค้าดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ตารางความยืดหยุ่นและรายรับรวมในกรณีลด - เพิ่มราคาสินค้า
ความยืดหยุ่นมาก (Elastic)
ความยืดหยุ่นคงที่(Unitary)
ความยืดหยุ่นน้อย(Inelastic)
P x Q
TR
P x Q
TR
P x Q
TR
  ก. ราคาสินค้าลดลง





10 x 1,000
10,000
10 x1,000
10,000
10 x 1,000
10,000
x 2,000
18,000
x 1,111
10,000
x 1,050
9,450
8 x 3,000
24,000
8 x 1,250
10,000
8 x 1,100
8,800
ข. ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น





x 3,000
24,000
x 1,250
10,000
x 1,100
8,800
9 x 2,000
18,000
9 x 1,111
10,000
9 x 1,050
9,450
10 x 1,000
10,000
10 x 1,000
10,000
10 x 1,000
10,000
         
             จากตารางแสดงความสัมพันธ์ของความยืดหยุ่นรายรับรวมและราคาจะสังเกตเห็นว่าถ้าราคาเปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อ (1) ปริมาณซื้อและ (2) รายรับทั้งหมด จากความสัมพันธ์นี้เราจะนำไปใช้ในการวางแผนการตลาดของสินค้าที่จะนำออกขายในท้องตลาด  ทฤษฏีอุปสงค์ทั้งหมดที่ศึกษาก็เพื่อจะขจัดปัญหาความไม่แน่นอนในธุรกิจ  อีกนัยหนึ่ง เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดผู้ขายทุกคนควรที่จะต้องทราบลักษณะของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ เพื่อกำหนดนโยบายราคาและพยากรณ์รายได้ของผู้ขาย  อันเป็นการนำมาซึ่งกำไรสูงสุดของผู้ประกอบการ จากหลักทฤษฏีเศรษฐศาสคร์ จึงอาจสรุปความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของราคากับรายรับได้ดังต่อไปนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างความหยืดหยุ่นของอุปสงค์กับรายได้จากการขาย
ราคาสินค้า
Ed > 1
Ed = 1
Ed < 1
เพิ่ม
TR ลด
TR คงเดิม
TR เพิ่ม
ลด
TR เพิ่ม
TR คงเดิม
TR ลด


2. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of Demand)

            อุปสงค์ต่อรายได้ หมายถึง จำนวนต่างๆ ของสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการเสนอซื้อ ณ ระดับรายได้ต่างๆ ภายในระยะเวลาหนึ่ง  โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่

            ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of demand) หมายถึง การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลง

       ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Ey)     =     การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อ
                                                                                                % การเปลี่ยนแปลงของรายได้

                        ก. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้แบบจุด
                                              


โดยที่ :  Ey       = ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
Q1                ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับรายได้เดิม
Q        = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับรายได้ใหม่
Y1                  ระดับรายได้เดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
Y2                  ระดับรายได้หลังการเปลี่ยนแปลง
                        ข. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ต่อรายได้แบบช่วง
                                    


            ถ้าค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้มีเครื่องหมายเป็นบวกแสดงว่าเป็นสินค้าปกติ (Normal Goods) หรือสินค้าฟุ่มเฟือย (Superior Goods) และถ้ามีเครื่องหมายเป็นลบแสดงว่าเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) เพราะเมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้นจะซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง
3. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Cross - Price Elasticity of Demand)
            อุปสงค์ไขว้ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ พิจารณาต่อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาหนึ่ง โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Cross - Price Elasticity of Demand) หมายถึง การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลง
สินค้าที่เกี่ยวข้องกันแบ่งได้ ชนิด ดังนี้
            สินค้าที่ใช้ประกอบกัน (Complementary Goods) เป็นสินค้าที่ในการอุปโภคบริโภคต้องใช้ร่วมกัน ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะไม่สามารถบริโภคได้ เช่น รถยนต์และน้ำมัน เป็นต้น ความสัมพันธ์ของสินค้าที่ต้องใช้ประกอบกันจะมีทิศทางตรงกันข้ามหรือเป็น -
            สินค้าทดแทนกัน (Substitute Goods) เป็นสินค้าที่ในการอุปโภคบริโภค ถ้าหาสินค้าชนิดหนึ่งไม่ได้สามารถใช้สินค้าอีกชนิดหนึ่งทดแทนได้ เช่น เนื้อหมูกับเนื้อไก่ เป็นต้น ความสัมพันธ์ของสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้จะมีทิศทางเดียวกันหรือเป็น +

                      ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้ (Ec)      =     %การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A        
                                                                                                         % การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า B
                        ก. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ไขว้แบบจุด
                                  


โดยที่ Ec        = ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ไขว้
QA1       = ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ณ ระดับราคาสินค้า ก่อนการเปลี่ยนแปลง
QA2             ปริมาณความต้องการซื้อสินค้า A ณ ระดับราคาสินค้า หลังการเปลี่ยนแปลง
PB1        = ราคาสินค้า ก่อนการเปลี่ยนแปลง
PB2        = ราคาสินค้า หลังการเปลี่ยนแปลง

                        ข. สูตรความยืดหยุ่นอุปสงค์ไขว้แบบช่วง


ถ้าคำนวณได้ค่าเป็นบวก ( + ) แสดงถึง เป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน และถ้าคำนวณได้ค่าเป็นลบ ( - )แสดงถึง เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of Supply)
            ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of Supply) หมายถึง เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการขายสินค้าต่อเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้า ค่าความยืดหยุ่นที่คำนวณได้จะมีเครื่องหมายเป็นบวกเนื่องจากราคาและปริมาณความต้องการขายมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน การคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปทานทำได้ดังนี้
ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา (Es)     =       การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการขาย                                                                                                                  % การเปลี่ยนแปลงของราคา
                         ก. สูตรความยืดหยุ่นของอุปทานแบบจุด (Point elasticity of Demand)

โดยที่ :  Es       = ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา
Q        = ปริมาณความต้องการขาย ณ ระดับราคาเดิม
Q        = ปริมาณความต้องการขาย ณ ระดับราคาใหม่
P        = ราคาสินค้าเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
P        = ราคาสินค้าหลังการเปลี่ยนแปลง

            ข ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานแบบช่วง
                     
ลักษณะความยืดหยุ่นของอุปทาน
            สามารถแบ่งลักษณะของอุปทานตามระดับความยืดหยุ่นของอุปทานได้ดังรูปที่ 3.2

ปัจจัยที่กำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน
            ความยากง่ายและเวลาที่ใช้ในการผลิต สินค้าที่สามารถผลิตได้ง่ายและใช้เวลาในการผลิตสั้นอุปทานของสินค้ามีค่าความยืดหยุ่นสูง
            ปริมาณสินค้าคงคลัง สินค้าที่มีสินค้าคงคลังสำรองมาก อุปทานของสินค้าจะมีความยืดหยุ่นสูง
            ความหายากของปัจจัยการผลิต ถ้าปัจจัยที่ใช้ในการผลิตสินค้ามีจำนวนจำกัดและหายาก ต้องใช้เวลาในการหาปัจจัยการผลิตนาน อุปทานของสินค้าชนิดนั้นจะมีความยืดหยุ่นต่ำ
            ระยะเวลา ถ้าระยะเวลานานความยืดหยุ่นของอุปทานจะมากเพราะผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิตได้ทุกชนิด แม้แต่เทคโนโลยีและเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ


ประโยชน์ของค่าความหยืดหยุ่นของอุปสงค์
1.    ในการวางนโยบายหรือมาตรการของรัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีจากสินค้า รัฐจะต้องรู้ว่าสินค้านั้นมีความ
หยืดหยุ่นเท่าไร เพื่อจะได้ทราบว่าภาระภาษีจะตกไปบุคคลกลุ่มใด
2.    ช่วยให้หน่วยุรกิจสามารถดำเนินกลยุทธทางด้านราคาได้อย่างถูกต้องว่าสินค้าชนิดใดควรตั้งราคาสินค้า
ไว้สูงหรือต่ำเพียงใด  ควรเพิ่มหรือลดราคาสินค้า จึงจะทำให้รายได้รวมกำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น
3.    นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ




ที่มา  (msci.chandra.ac.th/econ/ch3elastic.doc)

             ในกรณีที่รัฐบาลมีความเห็นว่าราคา ณ ระดับ P0 สูงเกินไปและกำหนดว่าราคาต้องไม่สูงเกินกว่าระดับ P max ในกรณีดังกล่าวผลที่เกิดขึ้นคือ ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่า ราคาดุลยภาพ ผู้ผลิตย่อมผลิตในปริมาณที่ต่ำกว่าปริมาณดุลยภาพ ดังนั้น ปริมาณอุปทานจะลดลงไปอยู่ที่ระดับ Q1 ในทางตรงกันข้าม ผู้บริโภคย่อมมีอุปสงค์เพิ่มมากขึ้น ณ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ปริมาณความต้องการซื้อ หรือปริมาณอุปสงค์จึงสูงกว่าปริมาณอุปทานในปริมาณ Q1 - Q2 หรือที่เรียกว่าอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)


การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นสูง ทำเพื่อใคร

             การประกันราคา ให้ตํ่ากว่าราคาดุลยภาพ เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเนื่องจากราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเดือดร้อนสินค้าประเภทนี้โดยทั่วไปแล้วเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ


การประกันราคาขั้นต่ำคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาหรือประกันราคาขั้นต่ำ

            การกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum price control)คือ รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สิ้นค้าชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป


             ราคาซื้อขายกัน ณ จุด E เป็น การซื้อขาย ที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายซึ่งเป็นเกษตรกร เดือดร้อน เพราะราคาต่ำ รัฐบาลจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือ โดยการกำหนดราคาขั้นต่ำหรือการพยุงราคา ไว้ที่ OP3500 ซึ่งสูงกว่าราคาที่เป็นอยู่ และเมื่อราคาสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ผลิตสินค้ามาจำหน่ายมากขึ้น จาก OQ2 เป็น OQa3
แต่ ณ ราคานี้ เต็มใจซื้อสินค้าเพียง OQa1  ซึ่งจะทำให้มีสินค้าเหลือ จำนวน FH ซึ่งเราเรียกว่า “อุปทานส่วนเกิน” ( EXCESS  SUPPLY) และถ้าหากรัฐบาลต้องการจะให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะต้องเข้าไปรับซื้อส่วนเกินนี้ไว้ จึงจะทำให้จุด Fการซื้อขายเข้าสู่จุด ดุลยภาพ
            นี่คือ นโยบายแทรกแซงราคา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิต  โดยการกำหนดราคาขั้นต่ำหรือที่เรียกว่า การพยุงราคาสินค้าเกษตร
            นอกจากนี้ รัฐยังมีการช่วยเหลือ ด้วยการให้เงินอุดหนุน ( Subsidies) แก่ผู้ผลิต เป็นต้น

            ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ